วนอุทยานปราณบุรี
ป่าชายเลนเป็นพืชป่าดงดิบชนิดหนึ่งซึ่งมีชนิดเป็นเลนโคลนเลนหรือดินเหนียวใกล้ฝั่งทะเลและชะวากทะเลป่าชายเล่นมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเข้ามาปะปนกันทุกวัน พืชที่ประกอบกันขึ้นเป็นป่าชายเลน ” พืชสะเทินน้ำสะเทินบก” วัฒนาการพิเศษของระบบราก ลำต้นเปลือกใบเพื่อให้สามารถรอดพ้นจากความเค็มของน้ำทะเลและทนคลื่นทะเลและกระแสรุนแรงได้ดี โดยโครงสร้างของป่าชายเลนนั้นจำแนกออกเป็น ๔ องค์ประกอบด้วยกัน (๑).สังคมพืชสันดอนงอกใหม่ (๒.) สังคมพืชป่าเลนต่ำ (๓.) สังคมพืชป่าเลนสูง (๔.) สังคมพืชป่าตะกาด
ป่าเลนป่าโกงกาง
วนอุทานปราณบุรี 100 ปี ชายหาดมีป่าชายเลน มีป่าโกงกางมีต้นไม้มากมายหลายแบบ มีป้ายบอกชื่อหลายจุด ความกว้างเกือบ 2000 ไร่ ได้สูดอากาศบริสุทธิ อากาศดีมาก สบายมีทั้งป่าเขามากมาย ได้เจอต้นไม้ ใบไม้ และสัตว์ที่อาศัยในผืนป่าชายเลน มีพืชพันธ์ให้ศึกษาหลากหลาย เป็นป่าความชื้นที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมาก มีต้นไม้ขนาดใหญ่และหายาก และเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าที่หายากเหลือแหล่ นอกจากนี้ยังมีน้ำตกและธรรมชาติที่งดงาม
ป่าเลนปากน้ำปราณ (Mangrove)
ป่าเลนปากน้ำปราณ ทางเดินศึกษาหาธรรมชาติเส้นนี้สร้างขึ้น เพื่อให้ศึกษาทางธรรมชาติกลางแจ้ง โดยจุดประสงค์ให้เกิดผลแพร่หลายแก่การรักษาป่าชายเลนและสัตว์น้ำ (โดยเฉพาะปูดำหรือปูทะเล) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญอยู่คู่เมืองปราณบุรี
ระยะทางเดิน
เส้นทางเดินตามสะพานมีความยาว ๑,๐๐๐ เมตร ท่านสามารถใช้เวลาเดินทางศึกษาธรรมชาติตามเส้นทางนี้โดยประมาณ ๓๐ นาทีโดยเดินเป็นวงกลมตามสะพาน ช่วงเวลาที่เหมาะสมแก่การเดินศึกษาธรรมชาติอยู่ระหว่าง ๑๖.๐๐ – ๑๐.๐๐ นาฬิกา และ ๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ นาฬิกา
พื้นที่ป่าชายเลน
พื้นที่ดั้งเดิมเป็นนากุ้งร้างปรับเปลี่ยนเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศน์ใหม่ให้เป็นป่าชายที่มีคสามอุดมสมบูรณ์อีกด้วย ได้เรียนรู้ความพึ่งพาของธรรมชาติ มาเดินชิวๆ ศึกษาระบบนิเวศน์ป่าชายเลน ได้ทั้งบรรยากาศทั้งความรู้และอ๊อกซิเจนเต็มปอด